ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร – อาหารเสริม คืออะไร ? จำเป็นต่อการดูแลสุขภาพไหม ?

อาหารเสริม

แนวโน้มความนิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหลายคนเชื่อว่า อาจดีกว่าการทานอาหารปกติ หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่ายา ถ้าอย่างนั้นลองมาเช็กกันหน่อยว่า อาหารเสริมจำเป็นกับเราแค่ไหน ?

นิยาม ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร – อาหารเสริม คืออะไร ? 

ในภาพรวมนั้นคำว่า “ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรืออาหารเสริม ” (Dietary / Food Supplement) หมายถึงอาหารอื่นที่เพิ่มเข้ามาจากอาหารหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลร่างกาย แต่หากเจาะลึกในนิยามของแต่ละประเทศอย่างละเอียดแล้ว อาจให้คำจำกัดความแตกต่างกันบ้างบางประการ ตัวอย่างเช่น องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration, USFDA) จัดให้อาหารเสริมเป็นยา ถึงแม้ฉลากจะระบุว่าเป็นอาหารเสริมก็ตาม ดังนั้นอาหารเสริมจึงสามารถใช้รักษา, วินิจฉัยโรค, ป้องกันโรคได้

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร-1

แตกต่างกับทาง สำนักงานมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (Food Standards Agency, FSA) ที่ระบุว่า อาหารเสริมเป็นอาหารที่ช่วยแก้ไขภาวะขาดสารอาหาร หรือทำหน้าที่เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการทำงานของแต่ละระบบ ซึ่งไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถรักษา ป้องกันโรค หรือออกฤทธิ์ปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้ สอดคล้องกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ที่ประกาศไว้ในคำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พ.ศ.2548 ซึ่งสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหาร หรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ ใช้รับประทานนอกเหนือจากอาหารหลักตามปกติ สำหรับคนที่มีสุขภาพปกติ มิใช่สำหรับผู้ป่วย 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร-2

โดยประกาศฉบับที่ 2 พ.ศ.2550 ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณในการป้องกัน บำบัด หรือรักษาโรค ใช้สำหรับลดหรือขจัดปัญหาบางประการเท่านั้น ต่อมาในประกาศฉบับที่ 4 พ.ศ.2562 ได้มีการอัปเดตคำเตือนสำหรับอาหารเสริมแต่ละชนิดเพิ่มด้วย ดังนั้นผู้ที่ทานอาหารเสริม ยังคงต้องทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่อยู่เสมอ เพราะอาหารเสริม ไม่สามารถทดแทนอาหารมื้อหลักได้ และอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน

อาหารเสริม จำเป็นสำหรับร่างกายไหม ?

อาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์ทาน เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งมีประโยชน์ในการดูแลร่างกาย แบ่งออกเป็น 5 หมู่ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน และเกลือแร่ โดยแต่ละประเภท จะทำหน้าที่บำรุงและฟื้นฟูร่างกายแตกต่างกันออกไป สำหรับคนที่ร่างกายปกติ หากทานอาหารได้อย่างหลากหลายและเพียงพอ อาจไม่มีความจำเป็นต้องทานอาหารเสริมเพิ่ม แต่ต้องแน่ใจว่า สามารถทานได้ครอบคลุมตามปริมาณสารอาหารอ้างอิง (Dietary Reference Intake, DRI) ที่ควรได้รับในแต่ละวันจริง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 300 กรัม, โปรตีน 50 กรัม, ใยอาหาร 25 กรัม,วิตามินบี 1 ~ 1.5 มิลลิกรัม

แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถทานอาหารได้ปกติ เช่น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคี้ยวกลืน, ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ทานอาหารได้น้อย, เด็กที่เลือกทานอาหารแค่บางชนิด หรือคนที่ทานอาหารมังสวิรัติ อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ที่เกี่ยวข้องกับภาวะขาดสารอาหาร จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ อาจยังจำเป็นต้องทานอาหารเสริมบ้าง

อาหารเสริมบำรุงร่างกาย ดูแลสุขภาพได้ไหม ?

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร-3

สำหรับคนที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีข้อมูลจากหลายงานวิจัยที่สนับสนุนว่า การได้รับอาหารเสริม จะช่วยบำรุงและฟื้นฟูสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาที่พบว่า วิตามินรวมที่ประกอบด้วยกรดไขมันโอเมกา-3, แอลคาร์นิทีน, กรดบอสเวลลิก และวิตามินเกลือแร่อีกหลากหลายชนิด ช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เป็นหวัดน้อยลง ปวดหลังปวดกล้ามเนื้อลดลง และรู้สึกกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นกว่าเดิม รวมถึงรายงานที่กล่าวว่า การได้รับอาหารเสริมมัลติวิตามินวันละครั้ง จะช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งและต้อกระจกในเพศชาย ส่วนการทานกรดโฟลิก, เหล็ก, แคลเซียม,ไอโอดีน มีประโยชน์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ จะเห็นว่าการทานอาหารเสริม อาจช่วยบำรุงและฟื้นฟูสุขภาพได้ แต่ไม่ควรทานเพื่อรักษาโรคโดยตรง

สรุป 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นเพียงแค่อาหาร ไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถใช้รักษาโรค เพื่อให้หายจากความเจ็บป่วยทรมานได้ แต่อาจจำเป็นสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวกลืน หรือทานอาหารไม่หลากหลาย ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาบางอย่างได้

เรื่องสุขภาพที่น่าสนใจ

อาหารเสริม

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร – อาหารเสริม คืออะไร ? จำเป็นต่อการดูแลสุขภาพไหม ?

แนวโน้มความนิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหลายคนเชื่อว่า อาจดีกว่าการทานอาหารปกติ

มือใหม่หัดทานคลีน ทานอย่างไรให้ได้ผลฟังทางนี้!!

การทานคลีนในตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก สำหรับมือใหม่ที่ต้องการลดน้ำหนักและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง จะมีสูตรการทำอาหารแต่ละอย่าง โดยจะต้องคำนึงถึงโภชนาการเป็นหลัก