กัญชานิยมใช้เสพโดยการสูบ ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายของเราแล้วแทรกเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2 นาที และออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้มากถึง 1 ชั่วโมงเลยทีเดียว อาการโดยทั่วไปจะมีอาการซึมลงอย่างช้า ๆ แต่บางรายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีปฏิกริยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะลั่นเดียวสงบ เพราะฉะนั้นอาการเคลิ้มจิตจึงควรเรียกว่า “อาการบ้ากัญชา” มากกว่า ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้กัญชามีอย่างไรบ้างเราไปดูพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ
ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้กัญชามีดังนี้
- ไม่ใช้กัญชาในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี โดยเด็ดขาด เพราะมีผลต่อการพัฒนาการของสมองทั้งในแม่และเด็ก
- ไม่ใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อาการทางจิต และระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย
- ไม่ใช้ช่อดอกของกัญชาเพื่อผสมในอาหารและเครื่องดื่ม หากมีการผสมส่วนใด ๆ ของกัญชา ในอาหารและเครื่องดื่ม ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน
- ผู้ที่ใช้กัญชา ไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร ในระยะ 6 ชั่วโมงหลังใช้กัญชา เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้สูง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคจิตประสาท โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ขอให้ปรึกษากับ แพทย์ ที่ให้การรักษาก่อนใช้กัญชาเสมอ เพราะอาจมีผลต่อยาและการรักษาที่ได้รับอยู่
- ผู้ปกครองและสถานศึกษา ควรดูแลให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากกัญชา รวมถึง ประชาชน ควรร่วมสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากอันตรายของกัญชา
- ขอให้ภาครัฐและภาคสังคม มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชา และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
- ขอให้ภาครัฐ เร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีมาตรการและหน่วยงานที่ รับผิดชอบ ในการติดตามดูแลการใช้กัญชาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพที่ดี แก่ประชาชนและสังคม
จากงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชารักษาอาการ และโรคต่าง ๆ ได้มากมาย อย่างไรก็ตามกัญชามีประโยชน์หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เสพติดจนเกินไปอาจจะให้โทษมากกว่าประโยชน์ ผู้ใช้ต้องศึกษาข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนเสมอนะคะ