กระท่อมพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รักษาโรค บรรเทาอาการเจ็บป่วย

ใบกระท่อม

สวัสดีค่ะวันนี้ขอนำเสนอ พืชสมุนไรพเพื่อสุขภาพ นั่นก็คือ “กระท่อม” โดยนิยมนำใบมาเคี้ยวแบบสด ๆ  กินตอนเหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือกินตอนร่างกายอ่อนแอเจ็บไข้ได้ป่วย จะรู้สึกทำให้มีกำลังวังชา ยังไม่หมดเท่านั้น กระท่อมพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ยังสามารถทำอะไรได้อีกไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

กระท่อม3

ใบกระท่อมมีวิธีทานอย่างไร ? ให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป

ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในตอนนี้ก็หนีไม่พ้น ใบกระท่อม ในตำรับยาพื้นบ้านยังพบว่าใช้ใบกระท่อมบรรเทาอาการไม่สบายได้หลายอย่างด้วย โดยกินจากตำรับแบบดั้งเดิม นำใบกระท่อมแบบสดประมาณ 1-3 ใบ จากนั้นลอกก้านใบออก แล้วนำมาเคี้ยวเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อใบพอให้จืด แล้วจึงคายกากใบทิ้ง กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น แค่นั้นค่ะ

กระท่อม2

รสชาติของใบกระท่อม

ต้องบอกก่อนนะคะว่า กระท่อมไม่ได้มีรสชาติอร่อย ขึ้นชื่อว่าสมุนไพรจึงมีรสขมเฝื่อนเล็กน้อย ไม่ชวนรับประทาน แต่ถ้ารับประทานเพียงเป็นยา อย่าให้ถึงกับติด แต่หากกินเป็นประจำทุกวันก็มีโอกาสติดได้ง่ายต้องกินในปริมาณที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ  อาการก็คือถ้าเรากินจนติดพอเราไม่ได้กินจะไม่มีแรงทำงาน รู้สึกขาดไม่ได้ จนต้องนำใบมาเคี้ยว อาการต่าง ๆ เช่นทำให้หงุดหงิดกระวนกระวาย ง่วงนอนหาวทั้งวัน ต้องระมัดระวังกันด้วยนะคะ
กระท่อม4

กระท่อมช่วยรักษาโรค

 ใบกระท่อมมีฤทธิ์ทางยา ส่วนที่เป็นเปลือกและใบสด ๆ นำมาเคี้ยว สามารถรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง ลดอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาโรคกระเพาะอาหารและยังเป็นส่วนประกอบในตำรับยาต่างๆ เช่น ประสะกระท่อม ยาแก้บิดลงเป็นเลือด ประสะกาฬแดง เป็นต้น

ในใบกระท่อมมีสารชนิดใดบ้าง ?

จากงานวิจัยได้รับการยืนยันในหลอดทดลองสัตว์ทดลอง และในมนุษย์ ซึ่งมีสารที่พบในสารสกัดใบกระท่อม คือ Mitragynine เป็นสารกลุ่ม Indole alkaloids มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย ได้แก่ ฤทธิ์ลดการเจ็บปวด ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์กระตุ้นประสาท ฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า มีผลต่อความจำ ลดการหลั่งกรด ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก

ใบกระท่อมเป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ช่วยรักษาโรคได้โดยนำส่วนก้านและใบมาเคี้ยวแบบสด ๆ แต่ก็ต้องกินในพอประมาณ แต่หากกินเป็นประจำทุกวันก็มีโอกาสติดได้ง่ายต้องกินในปริมาณที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ

 

เรื่องสุขภาพที่น่าสนใจ

เช็กเลย ! อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ความสุขที่เกิดจากการกินอาหารที่ชอบ รสชาติที่ใช่ เป็นหนึ่งในความทรงจำที่ดีของชีวิต บรรดานักชิมจึงพยายามเสาะหาร้านอร่อย

อาการแพ้กัญชา

สังเกตุอาการแพ้กัญชา เมากัญชา มีอาการอย่างไร? ต้องพบแพทย์ไหม?

ในปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านได้นำกัญชามาเป็นส่วนผสมในการปรุงอาหาร เพื่อเป็นสมุนไพร แต่อาจจะเหมาะกับบางท่าน และถึงขั้นเป็นอันตรายกับบางท่านได้เลยอันตรายมาก