ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน ทำให้คอมพิวเตอร์ก้าวเข้ามามีบทบาท ในการทำงานเกือบทุกวงการ ส่งผลให้วัยทำงานหลายคนเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม จนเคลื่อนไหวร่างกายไม่คล่องแคล่ว ออกกำลังกายไม่สะดวก และใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่
มาทำความรู้จักกับอาการออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่พบบ่อยในชาวออฟฟิศ คนทำงาน work from home และคนทั่วไปที่ต้องทำงานลักษณะเดิมซ้ำ ๆ อยู่ในท่าทางเดิมนาน ๆ วันละหลายชั่วโมง (Occupational Overuse Syndrome, OOS) โดยไม่ได้ผ่อนคลายอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ, หดเกร็ง, ดึงรั้ง จนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่ ปวดต้นคอ, ปวดบ่า, ปวดไหล่, ปวดต้นขา, ปวดหลังช่วงเอว, ชาปลายมือ, นิ้วล็อก
รักษาออฟฟิศซินโดรมตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะบาดเจ็บเรื้อรัง
รักษาด้วยตัวเอง
- ทานยาบรรเทาปวด
มียาบรรเทาปวดหลายชนิด ที่สามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้ผลดี อย่างยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่ม NSAIDs เช่น Diclofenac, Ibuprofen, Piroxicam, Celecoxib ซึ่งควรทานหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร - นวดด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ
ลองนวดเบา ๆ บริเวณที่ปวด ร่วมกับทายาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดสเปรย์ หรือแปะแผ่นลดปวด อาจช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่หดเกร็งคลายตัวได้ - ประคบเย็น
หากมีอาการปวดแบบเฉียบพลันขณะเปลี่ยนท่าทาง เช่น ปวดกล้ามเนื้อหลัง, ปวดคอ, ปวดข้อมือขึ้นมาทันที ให้ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งหรือแผ่นเจลเย็นภายใน 48 – 72 ชั่วโมงแรก เพื่อลดบวม ลดอักเสบ แต่หลังจากนั้นให้เปลี่ยนเป็นประคบอุ่นแทน
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
วิธีออกกำลังกาย ที่เหมาะสำหรับบรรเทาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม คือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอและหลัง ซึ่งควรทำอย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
รักษาด้วยการกายภาพ
- ฝังเข็ม
การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการฝังเข็ม จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ, ลดอาการชา, กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และปรับสมดุลฮอร์โมน ซึ่งจะทำให้รู้สึกปวดน้อยลงกว่าเดิม - นวดผ่อนคลาย
อาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรม จะดีขึ้นได้ หากนวดคลายจุดกดเจ็บ (Trigger Points) อย่างถูกวิธี ซึ่งควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่อย่างนั้นอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ บวมช้ำ หรือเกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในได้ - รักษาด้วยอัลตราซาวด์
การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Therapeutic Ultrasound) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้น โดยคลื่นจะช่วยลดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ, ลดบวม, คลายจุดที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง และยังเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ ทำให้รู้สึกปวดน้อยลง
- รักษาด้วยคลื่นกระแทก
คลื่นกระแทกหรือช็อกเวฟ (Shock Wave) เป็นวิธีรักษาทางกายบำบัด ที่เหมาะสำหรับดูแลอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังอย่างออฟฟิศซินโดรม โดยคลื่นจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง โดยหลอกให้รับรู้ว่ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอักเสบและลดปวดได้อย่างรวดเร็ว
- กระตุ้นด้วยไฟฟ้า
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) จะช่วยกระตุ้นประจุแร่ธาตุภายในร่างกาย กระตุ้นระบบประสาท และเร่งสร้างโปรตีน เพื่อช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่อักเสบ และกระตุ้นให้ระบบประสาทตื่นตัว โดยมีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบ เช่น TENS ที่จะกระตุ้นระบบประสาท เพื่อบำบัดอาการปวดโดยเฉพาะ
ปรับพฤติกรรม ป้องกันออฟฟิศซินโดรมกันดีกว่า
ปรับพื้นที่ทำงาน
อาการออฟฟิศซินโดรมจะดีขึ้นได้ ถ้ามีการปรับพื้นที่ทำงาน และท่าทางในการนั่งให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์
พักตามกฎ 20 – 20 – 20
ไม่ว่าจะเป็น Office Syndrome จากการทำงานที่ออฟฟิศ หรืองาน work from home สามารถใช้กฎ 20 – 20 – 20 ได้ทั้งนั้น โดยพักทุก 20 นาที นาน 20 วินาที และนั่งห่างจากหน้าจอ 20 ฟุต (6 เมตร)
สรุป
อาการออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการทำงานในลักษณะเดิมเป็นประจำ หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ของทั้งกล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, พังผืด และข้อต่อได้