การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม │ เคล็ดลับ สุขภาพดี ที่เหมาะกับทุกช่วงวัย

ตั้งแต่วิกฤตโควิดเป็นต้นมา เทรนด์การดูแลร่างกาย ยิ่งมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น โดยจะพิจารณาทุกองค์ประกอบ ที่มีส่วนสำคัญต่อการรักษาสุขภาพ ทั้งทางร่างกาย, จิตใจ, จิตวิญญาณ, อารมณ์, ความคิด, สังคม, สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่แข็งแรงแบบยั่งยืน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับคนทุกช่วงวัย

การดูแลร่างกาย 

ดัชนีมวลกาย (BMI)

ควบคุมน้ำหนัก

การดูแลดัชนีมวลกาย (BMI) ให้อยู่ในช่วง 18.5 – 22.9 กก./ม.2 ถือเป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับคนไทย ซึ่งจะช่วยลดเสี่ยงโรคเรื้อรังได้ ส่วนการดูแลเด็กนั้น น้ำหนักเด็กควรเหมาะสมตามเกณฑ์ของแต่ละช่วงวัย

ทานอาหารเพื่อสุขภาพ

หนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม คือการเลือกทานอาหารอย่างหลากหลาย ครบ 5 หมู่ เน้นทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีไขมันต่ำ มีน้ำตาลน้อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ควรทานโปรตีนให้เพียงพอ แนะนำให้เลือกทานปลา, เต้าหู้, ธัญพืช, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, วิตามินดี และวิตามินซีให้ครบถ้วน 

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 – 300 นาที เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกช่วงวัย ซึ่งมีหลากหลายวิธีให้เลือก อย่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็ว, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ เพื่อฝึกความทนทาน ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในเส้นเลือด, ฝึกเวทเทรนนิ่ง เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ฝึกความยืดหยุ่น เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดข้อ, ฝึกการทรงตัว เพื่อลดเสี่ยงหกล้มและกระดูกหักในผู้สูงอายุ

นอนหลับอย่างมีคุณภาพ

การนอนหลับอย่างต่อเนื่องวันละ 7 – 9 ชั่วโมง ในบรรยากาศที่เงียบสงบ ผ่อนคลาย อากาศถ่ายเทดี จะช่วยส่งเสริมการนอนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งนอกจากร่างกายจะได้หลั่งฮอร์โมนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้ว ยังได้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตอีกด้วย

จัดพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม

ออฟฟิศซินโดรม

การจัดโต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้ถูกต้องหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับ สุขภาพดี ที่จะช่วยให้วัยทำงาน ไม่ทุกข์ทรมานจากอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ไม่ต้องเจอปัญหาปวดหลังเรื้อรัง, พังผืดรอบข้อมือกดทับเส้นประสาท, กระดูกคอและกระดูกเอวเสื่อมก่อนวัยอันควร

ตรวจสุขภาพประจำปี

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ วัยทำงาน หรือแม้แต่เด็ก เกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งบางอย่างอาจเป็นความผิดปกติ ที่ต้องอาศัยการตรวจเลือดหรือตรวจพิเศษเท่านั้น

การฝึกฝนทางความคิด

ฝึกคิดอย่างมีเหตุผล 

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลเด็ก คือสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อให้สามารถจัดการความคิดได้อย่างเป็นระบบ ไม่ต้องคิดวนซ้ำไปมาจนเกิดความเครียด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รู้จักจัดลำดับความสำคัญ 

การรู้จักจัดลำดับความสำคัญ จะช่วยให้วางแผนจัดการเวลาได้อย่างเหมาะสม งานหรือเป้าหมายสำเร็จตามกำหนด ไม่ต้องเร่งรีบจนเกิดความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ

นั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิ ถือเป็นเทคนิคที่ดีสำหรับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ช่วยให้มีสติที่จะโฟกัสกับการทำงานและการเรียนได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยผ่อนคลายความเครียดด้วย

การดูแลสุขภาพจิต

ค้นหาความต้องการ

การสำรวจตัวเอง เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจว่า อยากทำอะไร, อยากใช้ชีวิตแบบไหน, อยากไปเที่ยวที่ไหน เป็นอีกวิธีการดูแลสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพ

รักษาความสัมพันธ์

การหาเวลาพบปะกับญาติและเพื่อนฝูง เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวในชีวิต นับเป็นเคล็ดลับ สุขภาพดี ที่ช่วยเยียวยาจิตใจในวันที่อ่อนล้า

หาเวลาเดินทาง

การออกเดินทาง ถือเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ผสานหลายองค์ประกอบไว้ด้วยกัน ทั้งการทำให้เราได้ใกล้ชิดสังคมมากขึ้น ได้ออกแรงเดินเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ที่สำคัญคือ ได้ดูแลจิตใจด้วยการให้รางวัลตัวเอง

สรุป

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ นับ เป็นเคล็ดลับ สุขภาพดี ที่เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ เหมาะกับคนทุกช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจดีขึ้นอย่างแน่นอน

เรื่องสุขภาพที่น่าสนใจ

ประโยชน์วิตามินดี

วิตามินD มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย ?

ร่างกายของเราจำเป็นต้องการวิตามินหลายชนิดเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิดกันไป วันนี้มาพูดถึงวิตามินดีกันค่ะ  วิตามินดี มีประโยชน์มากมาย

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายใกล้ตัวที่ผู้หญิงควรรู้ 2022

มะเร็งรังไข่ เป็นภัยร้ายที่ผู้หญิงควรรู้ มักสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยมากที่สุดก็ว่าได้  ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มที่มีประจำเดือนเร็วก่อนอายุ