เช็คด่วน เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่? เบาหวานชนิดที่ 2 คืออะไร

เบาหวานชนิดที่2

อาการของผู้ป่วยที่จะเป็นเบาหวานนั้นมีอาการอย่างไร ? ท่านเคยสังเกตตัวเองบ้างไหม ว่ามีอาการ ฉี่บ่อย กินน้ำบ่อน ปากแห้ง อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงหลักเกณฑ์ของโรคเบาหวาน แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นเป็นอย่างไร?ไปศึกษาและสังเกตตัวเองเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ มาเช็คพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

เบาหวานชนิดที่ 2 คืออะไร?

เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) โดยมีสาเหตุจากการมีภาวะดื้อกับฮอร์โมนอินซูลิน ร่วมกับมีภาวะการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนลดลง ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วน

เช็คอาการเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีอากาารอย่างไร?

ให้ท่านลองเช็คอาการเบื้องต้นของแต่ละท่านดูว่ามีเกณฑ์เป็นโรคเบาหวานหรือไม่? แต่ในบางรายไม่มีอาการอะไรบ่งบอกเลย ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ หากไม่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน จนมีอาหารหนักจนรู้สึกว่าเป็น

  1. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  2. กระหายน้ำบ่อย
  3. ปากแห้ง
  4. รับประทานเยอะ กินจุ
  5. น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  6. แผลหายช้า อาจติดเชื้อราบางที่ได้ง่ายๆ
  7. สายตาพร่ามัว
  8. มีอาการชา หรือรู้สึกเสียวตามมือ เท้า
  9. ในเพศชายพบปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  10. ในเพศหญิงพบเชื้อราในช่องคลอด มีอาการคันผิดปกติ และมีตกขาวปริมาณมาก

เช็คโรคเบาหวาน

ใครบ้างเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

  1. มีน้ำหนักเกิน รูปร่างท้วม หรืออ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 23-24.90
  2. สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  3. เพศชาย มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  4. เพศหญิง เสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  5. ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ร่างกายไม่มีการเผาผลาญพลังงาน
  6. เคยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เรื่องสุขภาพที่น่าสนใจ

6 ผลไม้บำรุงเลือด สำหรับคนโลหิตจาง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

สาเหตุของโรคโลหิตจางในเชิงแพทย์แผนปัจจุบัน เกิดจากภาวะในร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆได้น้อยลง การทานผลไม้ต่างๆที่ช่วยในการบำรุงเลือด

เช็คอาการโรคไทรอยด์

เช็คอาการโรคไทรอยด์ คุณมีอาการผิดปกติหรือไม่?

โรคไทยรอยด์ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน