โรคที่ควรระวัง ที่มาพร้อมช่วงฤดูหนาว 2022

โรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว

กำลังจะเริ่มเข้าหน้าหนาวแล้ว อากาศช่วงนี้มีลมหนาวเริ่มเย็นลงแล้ว หลาย ๆ ท่านอาจจะชอบหน้าหนาวเพราะรู้สึกว่าอากาศเย็นสบายไม่ร้อน แต่ช่วงน่าหนาวนี้แหละที่ทำให้ร่างกายป่วยได้ง่ายกว่าปกติ  ให้เตรียมรับมือกับโรคต่างๆ และป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงน่าหนาวนี้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงแต่เนิ่นๆ มาดูกันว่าโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาวที่ควรระวังมีอะไรกันบ้าง? ไปดูกันเลย

เตรียมรับมือ และวิธีป้องกันกับโรคต่างๆ  ในช่วงฤดูหนาวมีดังนี้

  1. โรคไข้หวัด
    โรคไข้หวัด

    ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการคล้ายๆไข้หวัดใหญ่ แต่ข้อแตกต่างคือไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ ไม่ค่อยมีอาการไข้ และปวดกล้ามเนื้อ

    วิธีดูแลตัวเอง

    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินซี ช่วยป้องกันไข้หวัดได้ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ

  2.  โรคไข้หวัดใหญ่
    โรคไข้หวัดใหญ่

    ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน หรือไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ Influenza A และ B หากเป็นจะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย

    วิธีดูแลตัวเอง

    ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยผู้ที่ควรรับวัคซีนได้แก่ เด็กเล็ก คนชรา แพทย์ และพยาบาล โดยต้องเข้ารับการฉีดทุกปี เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่และร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

  3. โรคปอดบวม
    โรคปอดบวม

    เกิดจากภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไว้รัส  ผู้ป่วยจะมีอาการไอ คัดจมูก จาม และมีเสมหะมาก มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน หนาวสั่น แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

    วิธีดูแลตัวเอง

    รีบรับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก สำหรับเด็กเล็กควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม

  4. โรคหัด
    โรคหัด

    มักพบในเด็กตั้งแต่อายุ 2 – 12 ขวบ ติดต่อกันได้ง่าย จากการไอ จาม รดกันโดยตรง หรือหายใจเอาละองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป อาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาคือ น้ำมูกไหล ไอแห้ง ตาและจมูกแดง มีไข้สูง หากมีไข้ติดต่อกัน 3-4 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และยังมีตุ่มใสๆ ขึ้นในปาก กระพุ้งแก้ม และฟันกรามบน ซึ่งตุ่มเกิดขึ้นเฉพาะโรคหัดเท่านั้น พอผื่นออกได้ประมาณ 1 – 2 วัน เด็กจะมีอาการดีขึ้น

    วิธีดูแลตัวเอง

    ฉีดวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมันและคางทูม จะช่วยป้องกันโรคหัดได้ โดยจะเริ่มฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 6 ขวบ

  5. โรคอุจจาระร่วง
    อุจจาระร่วง

    เป็นอีกโรคที่มากับฤดูหนาวที่ควรระวัง ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก ผ่านกระเพาะอาหารแล้วแบ่งตัวที่ลำไส้ พบบ่อยในเด็กอายุ 6-12 เดือน เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่ำ อาการของโรคจะมีไข้ ท้องเสียรุนแรงและอาเจียนอย่างหนัก บางรายเสียน้ำมากจนช็อกหรือเสียชีวิต

    วิธีดูแลตัวเอง

    ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน สามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน วัคซีนจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค และลดความรุนแรงลงได้

เรื่องสุขภาพที่น่าสนใจ

7 วิธีเลี่ยงการนอนกรน สมุนไพรช่วยลดอาการนอนกรนมีอะไรบ้าง?

การกรน  เกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องคอแคบลง ซึ่งส่งผลให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง

อาหารเสริม

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร – อาหารเสริม คืออะไร ? จำเป็นต่อการดูแลสุขภาพไหม ?

แนวโน้มความนิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหลายคนเชื่อว่า อาจดีกว่าการทานอาหารปกติ

ประโยชน์วิตามินดี

วิตามินD มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย ?

ร่างกายของเราจำเป็นต้องการวิตามินหลายชนิดเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิดกันไป วันนี้มาพูดถึงวิตามินดีกันค่ะ  วิตามินดี มีประโยชน์มากมาย

ป้องกันการล้มผู้สูงอายุ

เปิดแนวทาง การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ เพื่อลดเสี่ยงอุบัติเหตุร้ายแรง

ความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ มีอัตราสูงขึ้นกว่าคนวัยอื่น ตามสภาพร่างกายที่ถดถอย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า