ช่วงหน้าฝนนี้ มีหลากหลายโรคที่มาพร้อมกับหน้าฝนนี้ รวมถึงโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ด้วย เป็นโรคที่อันตรายได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ หรือการสูดหายใจอากาศที่ปนเปื้อน โรคฉี่หนูคืออะไร เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร ? มีวิธีป้องกันอย่างไร? ไปดุกันเลยค่ะ
โรคฉี่หนูคืออะไร?
โรคฉี่หนู (Leptospirosis) หน้าฝนโรคจะระบาดมาก โดยเกิดจากเชื้อโรคที่มีการลุยน้ำ หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางแผล หรือผิวหนังอ่อนนุ่ม จากการแช่น้ำนาน เนื่องจากน้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่าง ๆ ไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำขัง ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อก่อโรคฉี่หนู ถ้าหากมีประวัติการเดินลุยน้ำ และมีอาการปวดศรีษะ ไข้ขึ้นสูง ปวดตามกล้ามเนื้อ ควรรีบพบแพทย์ทันที หากปล่อยไว้นานอาการอาจมากถึงขั้นเสียชีวิตได้นะคะ
อาการของโรคฉี่หนู
หลังจากที่ผุ้ป่วยได้รับเชื่อจากโรคฉี่หนู โดยอาการจะแสดงตั้งแต่ 2- 30 วันหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหย่เท่าที่เจอบ่อยมักจะแสดงอาการในช่วงประมาณ 7- 14 วัน ซึ่งอาการของโรคนี้ไม่ค่อยมีอาการที่รุนแรงเท่าไหร่นัก หรือมีอาการแต่น้อยไม่ถึงขั้นรุงแรงถึงชีวิต
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- เจ็บช่องท้อง
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- ตาแดงหรือระคายเคืองที่ตา
- มีผื่นขึ้น
- ไม่อยากอาหาร
- ท้องเสีย
วิธีการป้องกันโรคฉี่หนูมีดังนี้
- ให้เลี่ยงการลุยน้ำ หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน
- ควรสวมรองเท้าบูท และถุงมือยาง ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำ
- ปิดพลาสเตอร์ หากมีบาดแผลเพื่อไม่ให้แผลสัมผัสกับน้ำ
- ทานอาหารปรุงสุก สด ใหม่ ผัก ผลไม้ ต้องล้างให้สะอาด
- ล้างมือ อาบน้ำ เมื่อลุยน้ำมา ต้องชำระล้างร่างกายทันที
- ทำความสะอาดบริเวณบ้าน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้มีหนูชุกชุม